วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวคิดการพัฒาหลักสูตร และ ปรัญญาทางการศึกษาการพัฒนาหลักสูตร

แนวคิด ทฤษฎี หลักสูตร และ ปรัชญา

         แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร

           
                หลักสูตรที่วางอยู่บนทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของหลักสูตรที่ยึดสนามเป็นหลัก แต่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะในด้านเนื้อหา ในด้านกิจกรรม และจะเน้นที่การแก้ปัญหาการค้นคว้า ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์และบรูเนอร์ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องความพร้อมของผู้เรียน เพียเจท์ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการเร่งให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเร่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นก้ต่อเมื่อมีความพร้อม แต่สำหรับบรูเนอร์กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าวิชาใดที่สามารถนำมาสอนให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ขั้นของพัฒนาการ จึงทำให้ความพร้อมของเด็กไม่มีความจำเป็นเลยต่อการจัดเนื้อหาของหลักสูตร
               ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาทางสติปัญญาของเด็ก จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรได้เป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหา และกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละวัยเช่นเดียวกับแนวคิดของการพัฒนาทางสติปัญญาของบรูเนอร์
                

    แนวคิดของคาร์ล โรเจอร์

               คาร์ล อาร์ โรเจอร์ จะเน้นการเรียนรู้ในประเด็นที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ในสิ่งนั้น บรรยากาศของการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่สนับสนุนกิจกรรมการสอนที่ปฏิบัติกันอยู่เพราะเป็นการบังคับให้ผู้เรียนเรียนในสิ่งที่ครูอยากจะให้เขารู้ จึงมีความเชื่อว่า การสอนหรือการถ่ายทอดความรู้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อสังคมหยุดอยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง คาร์ล โรเจอร์ จะไม่เน้นการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เน้นถึงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
              1. ความจริง หมายถึง ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้จะต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้เป็นไปตามความเป้นจริงตามธรรมชาติ หรือแก่นแท้ของตนเอง
              2. การยอมรับและการให้เกียรติผู้เรียน หมายถึง ครูหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ จะมีทัศนคติเกี่ยวกับการยอมรับ ไว้ใจ และให้เกียรติต่อความรู้สึก ความเชื่อ ความคิดเห็นของผู้เรียน และผู้เรียนต้องยอมรับว่าบุคคลทุกคนต่างก็มีความหมายในตัวของตนเอง
              3. ความเข้าใจ จะเป็นตัวเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี เป็นความเข้าใจที่เกิดจากความเป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่มีการประเมินเข้ามาเกี่ยวข้อง ในทำนองรู้จักเอาใจเรามาใส่ใจเขา ไม่ตำหนิติเตียน


    แนวคิดของอาเทอร์ โคมส์

                อาเทอร์ เป็นศิษย์คนสำคัญของคาร์ล โรเจอร์ ที่พยายามเผยแพร่การเรียนรู้ด้านแรงจูงใจ และเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้เชิงเชิงจิตลักษณะเชื่อว่าเจตคติ ความรู้สึก และอารมณ์ของนักเรียนมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 ประการ ดังนี้
                        1. สมององคนเราเกี่ยวข้องกับความหมายโดยตรง
                        2. การเรียนรู้คือการค้นพบความหมายของแต่ละคน
                        3. ความรู้สึกและอารมณ์เป็นเสมือนดัชนีของความหมาย
                        4. องค์ประกอบเชิงความรู้สึกที่ใช้ในการเรียนรู้
               อาเทอร์ โคมส์ ได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเตือนใจไว้ว่า ในบางครั้งความจริงเกิดขึ้นเหมือนกันที่ผู้สนับสนุนความสำคัญของความหมายได่ทุ่มเทและยึดอยู่กับความเข้าใจตนเอง ค่านิยม หรือความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งมากกว่าลักษณะปกติของหลักสูตร และจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่วงการจัดการศึกษาเชิงจิตลักษณ์ แต่ความผิดพลาดยังเสียหายน้อยกว่าความผิดพลาดของคนที่ไม่ยอมรับ และไม่ทราบถึงธรรมชาติหน้าที่สำคัญของความรู้สึก และอารามณ์ที่เกิดจากการวิจัยและทฤษฎี
               แนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจ จะมีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลคือ เน้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่ให้ความสบายใจแก่ผู้เรียน และการยอมรับคุณค่าของกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน นอกจากนี้การจัดหลักสูตรโดยอาศัยแนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจจะเน้น และให้ความสำคัญในการปลูกฝังทางด้านจิตลักษณะ ได้แก่ ความรู้สึก เจตคติ และบุคลิกภาพที่ดี 
    

               บรรณานุกรม

                  ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล.  (ม.ป.ป.).  การพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.
       กรุงเทพฯ: อักษรบัญฑิต.


                   ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร


               ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้
               Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง
               Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร Curriculum Construction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษา
               Curriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร

ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
                              ในกรณีที่มองหลักสูตรว่า เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรก็จะกล่าวถึงในการเลือกเนื้อหา การจัดการเนื้อหาลงในระดับชั้นต่างๆ เซเลอร์ (J. Galen Saylor) และอเล็กซานเดอร์ (William M. Alexander) ได้สรุปสูตรทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละวิชาและเนื้อหาสาระดังนี้
            1.      ใช้การพิจารณาจากผู้เชื่ยวชาญในการกำหนดหรือตัดสินว่าจะสอนวิชาอะไร
            2.      ใช้เกณฑ์บางอย่าง ในการเลือกเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
            3.     วางแผนวิธีการสอนที่เหมาะสม และใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในเนื้อหาที่เลือกมาเรียน


     ทฎษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์

                 ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) ให้หลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรไว้ 4 ประการ ซึ่งเรียกว่า "Tyler's rationale" โดยเขาให้หลักเกณฑ์ไว้ว่าในการจัดหลักสูตรและการสอนนั้น ควรจะตอบคำถามที่เป็นพื้นฐาน 4 ประการ ไทเลอร์เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา   ดังนั้นการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์

คำถามพื้นฐาน 4 ประการ
       1.  What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)
       2.  What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
       3.  How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
       4.  How can we determine when the purposes are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของ

                ประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร  จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
หลักการสร้างหลักสูตร
       1.  การวางแผนหลักสูตร (Planning)
       2.  การออกแบบหลักสูตร (Design)
       3.  การจัดการหลักสูตร (Organize)
       4.  การประเมินหลักสูตร (Evaluation)
โดยเมื่อนำหลักการนั้นมาเทียบเคียงกันจะพบว่ามีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้


คำถามพื้นฐาน 4 ประการ
หลักการสร้างหลักสูตร
1.What is the purpose of the education?
การวางแผนหลักสูตร (Planning)
2.What educational experiences will attain the purposes?
การออกแบบหลักสูตร (Design)
3.How can these experiences be effectively organized?
การจัดการหลักสูตร (Organize)
4.How can we determine when the purposes are met?
การประเมินหลักสูตร (Evaluation)

   Tyler’s Model of Curriculum Development



               โมเดลการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์นี้ ได้ดัดแปลงมาจากโมเดลของ Ornstein and Hunkin (1998) โดยได้นำคำถามที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำหลักสูตรของไทเลอร์ (สัญลักษณ์ Q) มากำกับในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของไทเลอร์
               การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึง การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตรด้วย โดยรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก

         ทฤษฎีกคำถามข้อที่ 1: What is the purpose of the education? (Planning)



               จากคำถามข้อที่ 1 คือการวางแผนในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ว่า จะสอนอะไร เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบชั่วคราว หรือ Tentative Objectives เราต้องดูว่าจะสอนอะไรเด็กและจะเอาอะไรมาสอน ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือSourcesแหล่งแรกคือสังคม ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญในสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการความสนใจความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ แหล่งที่สามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ

                 Sources หรือแหล่งที่มาประการแรกที่ต้องพิจารณาได้
       1)  Subject matter หรือว่าผู้รู้ สำหรับผู้รู้ในสถานศึกษา ก็คือ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคมที่พวกเราเลือกและเข้าไปสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประจำวิชา และนักศึกษาฝึกสอน นอกจากนี้ Subject matter ยังรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เช่น นักการ ภารโรง แม่ค้า ชาวบ้าน เป็นต้น
       2)  Learner คือด้านผู้เรียน เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านผู้เรียนก็เนื่องจากว่า
                • เราจะพัฒนาความรู้ด้านพุทธิพิสัยหรือ cognitive domain ของเด็ก ได้แก่ ด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
                • พัฒนาด้านภาษาศาสตร์ (linguistic)
                • พัฒนาด้านจิตสังคม ปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ
                • พัฒนาด้านจิตพิสัย และคุณธรรม
                • เน้นด้านอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต

       3)  Society  คือด้านสังคม เกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม จะครอบคลุมถึงครอบครัว ศาสนา และการศึกษา นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบการศึกษาไทยและแผนพัฒนาการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสังคมก็เพราะว่าเราจะนำความรู้ไปพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียน ได้แก่ การอ่านออกเขียนได้ ทักษะด้านอาชีพ การจัดระเบียบทางสังคมและด้านคุณธรรม ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การถ่ายทอดค่านิยมทางความคิดและวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม


        คำถามข้อที่ 2: What educational experiences will attain the purposes? (Design)




            จากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถจัดได้และสนองตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดหลักการออกแบบหลักสูตร โดยมีหลักในการออกแบบดังนี้

             1.  หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 Principles of Curriculum Design)
       -  Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือต้องออกแบบหลักสูตรให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนรู้
       -  Breadths (ความกว้าง) คือหลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้ เพราะว่าบางครั้งในการเรียนรู้มีแนวทางในการเรียนได้หลายทาง
       -  Progressions (ความก้าวหน้า) คือหลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
       -  Depths (ความลึกซึ้ง) คือหลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งสำคัญ คือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
       -  Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือหลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ต้องสนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
       -  Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือเนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
       -  Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือหลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง

              2.  ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
                เป็นหลักการเกี่ยวทักษะที่สำคัญที่ผู้เรียนพึงมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้  เรียนได้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็คือหลัก 7Cs หรือในปัจจุบันมีการรวมเข้ากับหลัก 3Rs ที่มีก่อนหน้า จนกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้

     3Rs
       -  Reading (อ่านออก)
       -  Writing (เขียนได้)
       -  Arithmetic (คิดเลขเป็น)
     7Cs
       -  Critical Thinking & Problem solving  คือทักษะในการคิดวิเคราะห์ หมายความว่าคุณต้องคิด เข้าใจ แก้ปัญหา
       -  Creativity & Innovation คือทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
       -  Cross-Cultural understanding คือทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก
       -  Collaboration Teamwork & leadership คือทักษะการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ คือเนื่องจากหากเราทำงานคนเดียว จะมีความเป็นปัจเจกสูง โตขึ้นเราจะไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นได้ ความคิดเห็นมีทั้งด้านถูกและผิด ไม่มีอะไรบนโลกใบนี้ที่มัน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นหาเราไม่ทำงานร่วมกันเป็นทีม แล้วเราจะขาดความสามัคคี ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศในขณะนี้
       -  Communication information and media literacy  คือความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญ เพราะในโลกของ Digital age ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร มีมากมาย website มีเป็นร้อยพันล้านเว็บ ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา สิ่งดีๆจากคนสร้างดีๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกัน สิ่งไม่ดีจากคนไม่ดี ก็มีมากมาย เราในฐานะผู้บริโภคข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูล สื่อ และการสื่อสารต่อออกไปได้
       -  Computing and ICT literacy  คือความสามารถในยุคของ Digital age เราต้องใช้เครื่องมือ เราต้องมีความสามารถในการใช้เครื่อง เราหลีกเหลี่ยงไม่ได้  เทคโนโลยี ที่ช่วยเราให้สะดวกมากขึ้น ถ้าเราหนีได้ก็แล้วไป หากหนีมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้มัน
       -  Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ แปลตามตัวอักษรนะ แต่ในความรู้สึกผม มันน่าจะหมายถึงทักษะที่เราจะใช้ชีวิตที่อยู่กับโลกนี้ มองโลกนี้เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองตัวเราเป็นศูนย์กลาง หมายถึงความรับผิดชอบต่ออาชีพชีวิต และสังคมของเรา
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นถ้าเราแบ่ง 7Cs ออกได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
       -  ส่วนของการพัฒนาด้านความคิด (Critical Thinking Creativity Collaboration Cross-Culture)
       -  ส่วนของ( Literacy) คือ ความสามารถความเข้าใจ (Information Communication Media ICT Literacy)
       -  ส่วนของ (Life Skill) คือ มองโลกหรือคนอื่นรอบๆ เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองเราเป็นศูนย์กลาง


               3. สี่เสาหลักของการศึกษา (The four Pillars of Education)
              พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ ๔ ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning: The Treasure Within ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๕ ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่
       1. การเรียนเพื่อรู้ คือการเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง การเรียนเพื่อรู้หมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
       2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสภาพในท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ๆ หรืออาจเป็นการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน โดยใช้หลักสูตรซึ่งประกอบด้วยการเรียนในภาคทฤษฎีสลับกับการฝึกปฏิบัติงาน
       3. การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
       4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

         คำถามข้อที่ 3: How can these experiences are effectively organized? (Organize)




             จากคำถามข้อที่ 3 ที่กล่าวว่า จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้นโดยการจัดเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) เป็นการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียงตามลำดับขั้นตอน ต้องมีเนื้อหาครบทุกด้าน ทั้งด้านความคิด หลักการ ค่านิยม และทักษะ ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน และธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งการกำหนดเนื้อหาสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ นั้นมีดังต่อไปนี้
       1.  มีความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
       2.  การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
       3.  บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
                 
                 สุมิตร คุณากร (2523) กล่าวว่า  การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการรวมกิจกรรม 3 ประเภท โดยได้อธิบายกิจกรรมทั้ง 3 ประเภทดังนี้
       1. การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  หลักสูตรระดับชาติจะกำหนดจุดหมาย เนื้อหาวิชา การประเมินผลไว้อย่างกว้างๆ ครูจึงไม่สามารถนำหลักสูตรไปสอนได้หากยังไม่มีการดัดแปลงให้เหมาะ
       2. การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนให้หลักสูตรบรรลุถึงเป้าหมาย  การนำหลักสูตรมาปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นที่โรงเรียน ผู้บริหารควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่าเหมาะสมกับการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
       3. การสอนของครู  การเอาใจใส่ต่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะชี้ชะตาหลักสูตรทั้งสิ้น ส่วนผู้บริหารก็ต้องคอยให้ความสะดวกและกำลังใจแก่ครู

                 ดังนั้นจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องจัดให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตร ซึ่งสามารถทำ ได้โดยการออกแบบการแผนการจัดการเรียนรู้ โดยต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานดังต่อไปนี้
              1. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้
              2. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
              3. วิเคราะห์หลักสูตร
              4. ศึกษาธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้
              5. ศึกษาการวัดผลและการประเมินผล
              6. ศึกษาแหล่งเรียนรู้และสื่อ
              7. ศึกษาองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
              8. ศึกษาเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย
              9. ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
             10.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

                    หลักในการจัดทำแผนการสอนว่ามีดังต่อไปนี้
              1.  ควรรู้ว่าสอนเพื่ออะไร
              2.  ใช้วิธีการสอนอย่างไร
              3.  สอนแล้วผลเป็นอย่างไร

                    โดยองค์ประกอบของแผนการสอน ประกอบด้วย
              1. สาระสำคัญ
              2. จุดประสงค์การเรียนรู้
              3. เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
              4. กิจกรรมการเรียนรู้
              5. การวัดและประเมินผล (มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน)
              6. สื่อและแหล่งเรียนรู้
              7. ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ผู้นิเทศ
              8. บันทึกผลหลังสอน

        คำถามข้อที่ 4: How can we determine when the purposes are met? (Evaluation)



               จากคำถามข้อที่ 4 มีความหมายว่า เราจะมีวิธีการประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรจึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะคำถามนี้จะตรงกับหลักการประเมิน (Evaluation) โดยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีการจัดการประเมินผลออกเป็น 2 ด้าน คือ
       1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
       2. การประเมินหลักสูตร

     การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

               การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

·       Bloom’s Taxonomy
                        การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณภาพการเรียนรู้โดยเกณฑ์การกำหนดคุณภาพที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายคือ Bloom’s Taxonomy โดยแบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ “Bloom’s Taxonomy แบบดั้งเดิม” จนกระทั่งปี 1990 นักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Lorin Anderson (ศิษย์ของ Bloom) ได้ทำการปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้นำคำกริยามาใช้ในการกำหนดระดับการเรียนรู้แทนคำนามตามแบบดั้งเดิมที่ Bloom ได้เคยกำหนดไว้ กล่าวโดยสรุปคือ “Bloom’s Taxonomy แบบใหม่” เป็นการเปลี่ยนจากนามเป็นกริยาเพื่ออธิบายระดับที่แตกต่างกันของกลุ่มพฤติกรรรม




·       SOLO Taxonomy
                        SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ Kelvin Collis (1982) แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้



       1.  Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน)
                ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
       2.  Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว)
                การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
       3.  Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง)
                การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
       4.  Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์)
                การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
       5.  Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม)
                จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
การประเมินหลักสูตร
                
                การประเมินหลักสูตรแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
  
1. ขั้นพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินโครงร่างหลักสูตร
         -  โครงสร้างหลักสูตร
         -  ความมุ่งหมายของหลักสูตร
         -  เนื้อหา
         -  กิจกรรมการเรียนการสอน
         -  อุปกรณ์ สื่อการสอน
         -  การประเมินผลการเรียนการสอน
         -  บรรยากาศในการเรียน
         -   สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
2. ขั้นการใช้หลักสูตร  เป็นขั้นตอนการประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง
         -  ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative evaluation)
         -  ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร
         -  การจัดการเรียนการสอน
         -  การบริหารหลักสูตร
3. ขั้นผลิตผลของหลักสูตร  เป็นขั้นตอนของการประเมินติดตามผล
         -  คุณภาพของบัณฑิต
         -  การทำงานของบัณฑิต
         -  ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง
                
      เมื่อคณะกรรมการร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จะต้อง ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร เพื่อศึกษาความเป็นไปได้พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก่อน นำไปใช้จริง การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรทำได้หลายวิธี เช่น
         -  วิธีการประชุมสัมมนา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้นตรวจสอบ
         -  วิธีตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)
         -   การทดลองใช้หลักสูตรนำร่อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตร มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตรแต่ละระยะอย่างมีระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาสังเคราะห์ สำหรับการปรับแก้ก่อนจะนำไปใช้ต่อไป

 การพัฒนาหลักสูตรของทาบา

           ทาบา (Hilda Taba) ได้ให้ความเห็นว่า หลักสูตรทั้งหลายจะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน      4 ประการ ได้แก่ 1. จุดประสงค์ 2. เนื้อหาวิชา 3. กระบวนการเรียน 4. การประเมินผล  องค์ประกอบพื้นฐานต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน 


                 บา ได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
      ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
      ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา
      ขั้นที่ 3 คัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับความ ต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยคัดเลือกมาให้เรียนโดยเฉพาะที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
      ขั้นที่ 4 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา
      ขั้นที่ 5 คัดเลือกประสบการณ์การเรียน โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ เป็นแนวทาง
      ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
      ขั้นที่ 7 ประเมินผล เป็นขั้นที่จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
      ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่ และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยตรวจสอบตามแนวของคำถามที่มีลักษณะดังนี้
                    -   เนื้อหาวิชาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หรือไม่
                    -   ประสบการณ์การเรียนได้ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์หรือไม่
                    -   ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด

      รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์

            เคอร์ (John F. Kerr) เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร เรียกว่าเป็น Operational Model มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้มาจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่
        1. ระดับพัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
        2  สภาพ ปัญหา และความต้องการของสังคมที่นักเรียนต้องเผชิญ
        3. ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาและชนิดของการเรียนรู้
            นำจุดมุ่งหมายมาคัดเลือกและจัดอันดับ โดยนำเอารูปแบบการจำแนกประเภทจุดประสงค์ทางการศึกษาของบลูม (Benjamin S. Bloom) และคณะ ที่แบ่งจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธวิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษพิสัย มาช่วยในการพิจารณาจำแนกจุดประสงค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
           ขั้นต่อไป ได้แก่ การจัดประสบการณ์การเรียน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่จัดไว้แล้ว และในการจัดประสบการณ์การเรียนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น ความพร้อมของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน วิธีสอน เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ได้แก่ การประเมินผล ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น
เคอร์ได้ใช้ลูกศรโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรเป็นการเน้นว่า องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน

     รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี

               เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
               รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
               1. ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเลือกจุดมุ่งหมาย
เลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
               2. ขั้นเตรียมววัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไข
               3. ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุงแก้ไขระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.
               สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2519 ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วย

     หลักของการพัฒนาหลักสูตร

            จากรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร สรุปเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
                1. ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ
                2. พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป้นต่างๆ ของสังคม   
                3. พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
                4. พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้
                5. ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ
                6. พัฒนาในทุกจุดอย่างประสานสัมพันธ์กัน ตามลำดับจากจุดประสงค์ สาระความรู้และประสบการณ์ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล
                7. พิจารณาถึงความเป็นไปได้สูงในทางปฏิบัติ
                8. พัฒนาอย่างเป็นระบบ
                9. พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
               10. มีการวิจัยติดตามผลอยู่ตลอดเวลา
               11. ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
               12. อาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย 

               บรรณานุกรม

               บุญชม ศรีสะอาด.  (2546).  การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร.
       กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.


ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร


             ปรัชญาการศึกษาหรือทฤษฎีทางการศึกษา มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การที่นักพัฒนาหลักสูตรจะพิจารณาแลพตัดสินใจลงไปว่า จุดหมายของหลักสูตรควรจะเป้นอย่างไร จะกำหนดให้เรียนเนื้อหาอะไร ตลอดจนวิธีการเรียนการสอนและการประเมินผล จะต้องอิงหรืออาศัยความรู้และความคิดเกี่ยวข้องและพาดพิงปรัชญาและปรัชญาการศึกษาทั้งสิ้น โดยมีกลุ่มธรรมชาตินิยมเชิงจิตนิยม ได้ศึกษาลึกซึ้งลงไปจึงได้เสนอแนวความคิดทั้ง 6 ประการดังนี้

          1.ปรัชญาการศึกษากลุ่มนิรันตรนิยม
            แนวความคิดหลักทางการศึกษาของนิรันตรนิยม ได้แก่ ความเชื่อว่าหลักการของความรู้จะต้องมีลักษณะที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง รากฐานนี้มาจากงานของ เซนท์ โทมัสอะไควนัส ย้ำว่าพลังแห่งเหตุผลของมนุษย์ผนวกกับแรงศรัทธา คือเคื่องมือแห่งความรู้  โทมัสให้ความสำคัญของชีวิตประจำวันของมนุษย์และคุณงามความดีที่อยู่เหนือธรรมชาติ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ได้มาจากประสบการณ์ ดังนั้นการศึกษาจะต้องมุ่งที่การเสริมสร้างสติปัญญาในส่วนต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะมีความเข้าใจว่า จิตของมนุษย์ได้รับมอบความหมายมาจากธรรมชาติในเชิงชีววิทยา การศึกษาจึงต้องแสวงหาสัจธรรมที่เป็นนิรันดร และจะต้องไม่ถูกชักนำให้หลลงไปกับความต้องการในปัจจุบันในลักษณะฉาบฉวยและชั่วครั้งชั่วคราว
          2. ปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม
              สารัตถนิยมเป็นชื่อของปรัชญาการศึกษาที่กำหนดขึ้นมาโดย วิลเลียม ซี แบกเลย์ ได้นำความคิดและความเชื่อเรียบเรียงเป้นรายงานเสนอต่อนักการศึกษาในปี ค.ศ.1938 ทัศนะนี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติในโรงเรียนกันอย่างแพร่หลาย กลุ่มสารัตถนิยมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนที่มาจากพวกจิตนิยม และสัจนิยมการผนึกกำลังและความคิดจึงไม่เป็นกลุ่ม จึงพิจารณาถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของพวกสารัตถนิยมจำเป็นจะต้องตรวจสอบด้วยทฤษฎีของกลุ่มจิตนิยม และสัจนิยม จิตนิยมเป็นการจำลองของจิตที่มาจากพระเจ้า ดังนั้นจึงได้ความรู้มาโดยวิธีที่เกิดจากญาณของตนเอง สารัตถนิยมสนับสนุนการศึกษาทุกรูปแบบที่นำไปสู่การฝึกจิตการพัฒนาความสามารถในการจำ การหาเหตุผลและการทำความเข้าใจจึงมีความสำคัญมาก
         3. ปรัชญาการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม
             พิพัฒนนิยมเป็นปรัชญาการศึกษาของอเมริกา นับตั้งแต่แนวคิดนี้ได้อุบัติขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 เป็นต้นมา แนวคิดนี้ก็ได้เป็รทัศนะทางการศึกษาที่มีอิทธิพลมากที่สุดในอเมริกา ความเชื่อพื้นฐานคือการต่อต้านอำนาจที่เป็นเผด็จการหรือการบังคับขู่เข็ญ และมองเห็นว่าประสบการณ์ของมนุษย์เป็นพื้นฐานไปสู่ความรู้ พิพัฒนนิยมเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้อยู่ในสภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น จึงไม่มีการเน้นถึงความรูที่มีลักษณะถาวร แม้ว่าการริเริ่มขบวนการของพิฒนนิยมมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมของ ชาร์ล เอส เพิร์ส และวิลเลียม เจมส์ หลักปรัชญาของพิพัฒนนิยมในลักษณะที่เป็นปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่ ส่วนใหญ่มาจากงานของ จอห์น ดิวอี้

           ดิวอี้ ถือว่าประชาธิปไตยต้องการพลเมืองที่มุ่งมั่น และมีความสามารถในการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของสังคม และเชื่อว่า ความก้าวหน้าของมนุษย์จะไม่เกิดขึ้น ถ้าการตัดสินใจเชิงวิทยาศาสตร์แยกออกมาจาการตัดสินทางจริยธรรม และเชื่อว่าหน้าที่ของการศึกษาคือ การส่งเสริมให้มนุษย์เจริญเติบโตตามศักยภาพของตน เพื่อว่าสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนี้จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้
       
          4. ปรัชญาการศึกษากลุ่มปฏิรูปนิยม
             นักพิพัฒนนิยมมีความเห็นว่า แนวคิดขิงพิพัฒนนิยมมีลักษณะที่เป็นกลางมากเกินไป จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จำเป็นได้ พวกที่ต้องการแสวงหาอุดมการณ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ตรงกว่านี้ และสร้างสังคมที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่ จึงถูกแยกออกจากพิพัฒนาการ เป็นแนวความคิดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า “ปฏิรูปนิยม”
ความคิดของปฏิรูปนิยมมีอยู่ว่า การศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือโดยตรงในการปฏิรูปการศึกษา เบิร์น ได้สรุปเห็นจุดเน้นของปฏิรูปนิยมว่า เรากำลังอยู่ในท่ามกลางวิกฤตของโลก การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลต่อการสร้างระเบียบสังคมของโลกและโรงเรียนของโลกควรจะเป็นกลไกที่มีพลังในการสร้างมนุษย์โลกและวัฒนธรรมของเขาขึ้นมา พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างระเบียบสังคมขึ้นมาใหม่ ดังนั้น การจัดหลักสูตรตามแนวคิดของปฏิรูปนิยม จึงเน้นเนื้อหาสาระและววิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูปและสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระดับประเทศ
            5. ปรัชญาการศึกษากลุ่มอัตถิภาวนิยม
                การค้นหาความหมายของการมีอยู่ของมนุษย์ในจักรวาล การร้องขอให้ได้มาซึ่งความสำคัญส่วนบุคคลในยุคเทคโนโลยี และความจำเป็นที่จะต้องรู้จักตนเองของบุคคลในยุคของเครื่องจักร นำไปสู่การทำให้เกิดความคิดตามแนวของอัตถิภาวนิยม จากรากฐานความคิดที่ได้มาจากผลงานของนักปรัชญาและชาวเทววิทยาชาว Danish ที่ชื่อ Soren Kierkegaard ความคิดของพวกอัตถิภาวนิยมก็ได้แพร่หลายและขยายออกไปอย่างรวดเร็ว
พวกอัตถิภาวนิยมยืนยันว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิธีการที่ไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาเพราะว่า ความคิดทางวิทยาศาสตร์มักจะเกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นปรนัยและไม่ยอมรับการรับรู้ทางญาณและการปฏิสัมพันธ์ของตนเองที่ทางปรัชญาได้กำหนด ทางพวกอัตถิภาวนิยมให้ความสนใจและผูกพันอยู่กับการตรวจสอบตนเองที่อยู่เหนือเหตุผล เพราะว่าเขาไม่สามารถค้นหาคำตอบของคำถามสูงสุดเกี่ยวกับความหมายของการเกิดมีอยู่ได้จากเหตุผล
            6. ปรัชญาการศึกษากลุ่มธรรมชาตินิยมเชิงจินตนิยม
                การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษาแบบพิพัฒนนิยม ทำให้เห็นชัดถึงการเกิดความเชื่อในเรื่องการเน้นผู้เรียนเป้นศูนย์กลาง ในการปฏิเสธความเชื่อเก่าๆ เกี่ยวกับเด็กๆ ที่ว่าคือ ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ และการต่อต้านวิธีการเก่าๆ ของการศึกษาที่ลักษณะเชิงบังคับและใช้อำนาจ
นีล ถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวคิดแบบพิพัฒนนิยมเชิงจินตนิยมรุ่นแรกๆ คลื่อนลูกใหม่ของพวกจินตนิยมก็ได้นำความคิดเดียวกันไปบอกชาวอเมริกันว่าศักยภาพตามธรรมชาติของเด็กสำหรับการศึกานั้น ได้ทำลายลงแล้วโดยโรงเรียน
                 กูดแมน ได้ประกาศว่า “วัตถุประสงค์ของการสอนประถมศึกษาจนถึงอายุ 12 ขวบ คือทำเพื่อชะลอการเรียนรู้ทางสังคม เพื่อป้องกันมิให้เด็กเจริญเติบโตอย่างเสรีเราจึงต้องลดการเรียนในโรงเรียนลงโดยเร็ว เพราะว่าการยืดเวลาคุ้มครองเด็กเป็นการขัดต่อธรรมชาติและการเจริญเติบโตของเด็ก”  นักการศึกษาหัวก้าวหน้าได้โจมตีว่า โรงเรียนเป็นเครื่องมือทางสังคมที่จะคงไว้ซึ่งความชั่วร้ายทั้งหลายที่อิงกับระบบแสวงหากำไร คอโซล ไปไกลถึงขนาดความเชื่อมโยงความโหดร้ายในเวียตนามกับการเรียนรู้ที่ปลูกฝังให้แก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา โดยมองข้ามไปว่าวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นแหล่งสำคัญที่ทำการต่อต้านสงคราม

     บรรณานุกรม

         .ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล.  (ม.ป.ป.).  การพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.